การอ่านเขียนวรรณกรรมใบลานอีสานเบื้องต้น

เพื่อสร้างองค์ความรู้ พุทธนวัตกรรม การปริวรรตและเผยแพร่วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานสู่สากล พัฒนาปัญญาและคุณธรรมให้กับนิสิต/นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป

บทที่ ๑ ความเป็นมาของอักษรธรรม

เดินทางย้อนเวลาไปค้นพบความลับของอักษรโบราณ อักษรธรรมอีสานและไทยน้อย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของภาคอีสาน เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ และความสำคัญของอักษรโบราณเหล่านี้ ฝึกอ่าน ฝึกเขียน และถอดความอักษรโบราณได้ด้วยตนเอง

บทที่ ๒ พยัญชนะอักษรธรรม

เรียนรู้ พยัญชนะ 41 ตัว พร้อมตัวซ้อน หรือตัวเชิง, พยัญชนะ 33 ตัว ตามแบบภาษาบาลี, พยัญชนะภาษาบาลี 33 ตัว พร้อมอักษรโรมัน, ตัวเลขและการนับเลข

บทที่ ๓ พยัญชนะตัวเฟื้อง

ศึกษาเกี่ยวกับพยัญชนะตัวเฟื้อง หรือตัวเชิง ซึ่งเป็นพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด

บทที่ ๔ สระอักษรธรรม

ศึกษาเกีี่ยวกับสระในอักษรธรรมอีสาน สระจม 29 ตัว, การผสมสระกับพยัญชนะ, การเขียนพยัญชนะพิเศษ, วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษ

บทที่ ๕ การผสมพยัญชนะกับสระ

ศึกษาเกีี่ยวกับการผสมสระและพยัญชนะในอักษรธรรมอีสาน การเขียนคำย่อ (อักขรวิธีพิเศษ) และการเขียนอ่านภาษาบาลี-สันกฤต

บทที่ ๖ อักษรไทยน้อย

เรียนการเขียนอ่านอักษรไทยน้อย พยัญชนะที่มีอักษรนำหรือควบกล้ำ การประกอบพยัญชนะกับสระ และศึกษาข้อแตกต่างระหว่างอักษรไทยน้อยและอักษรลาว