พรหมายุสูตรแห่งพราหมณวรรค มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก (ม.ม.๑๓/๕๘๙) และพระสูตรอื่นๆ (ที.ปา.๑๑/๑๓๐/๑๕๗) พรรณนาพระวรกายของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ได้แก่
[๑] สุปติฏฺฐิตปาโท มีพระบาทประดิษฐ์ฐานอยู่ด้วยดี
[๒] จกฺกานิ มีลายจักร อันมีซี่กำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เกิดภายใต้ฝ่าพระบาททั้งสอง
[๓] อายตปณฺหิ มีส้นพระบาทยาว
[๔] ทีฆงฺคุลิ มีพระองคุลียาว
[๕] มุทุตลุนหตฺถปาโท มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่น
[๖] ชาลหตฺถปาโท มีพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นลายตาข่าย
[๗] อุสฺสงฺขปาโท มีพระบาทสูงนูน
[๘] เอณิชงฺโฆ มีพระชงฆ์เรียวดังแข้งเนื้อทราย
[๙] อโนนมนฺโต ทรงประทับยืนตรง ไม่ค้อมลง ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำพระชานุมณฑลทั้งสองได้
[๑๐] โกโสหิตวตฺถคุยฺโห มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก
[๑๑] สุวณฺณวณฺโณ มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
[๑๒] สุขุมจฺฉวี มีพระฉวีละเอียดดังผิวทองคำเพราะทรงมีพระฉวีละเอียดฝุ่นละอองไม่ติดพระกาย
[๑๓] เอเกกโลโม มีพระโลมาขุมละเส้น
[๑๔] อุทฺธคฺคโลโม มีพระโลมาปรายงอนขึ้นเบื้องบนทุกเส้น สีเขียวดังดอกอัญชันขดเป็นมณฑลทักขิณาวัฏ
[๑๕] พฺรหฺมุชุคตฺโต มีพระกายตรงดังกายพรหม
[๑๖] สตฺตุสฺสโท มีพระกายเต็มในที่ ๗ แห่ง
[๑๗] สีหปุพฺพฑฺฒกาโย มีพระกายเต็มดังกึ่งกายเบื้องหน้าแห่งสีหะ
[๑๘] ปิตนฺตรํโส มีพระปฤษฎางค์เต็ม (มีระหว่างพระอังสะเต็ม)
[๑๙] นิโครฺธปริมณฺฑโล ทรงมีปริมณฑลดังต้นนิโครธ มีพระกายกับวาเท่ากัน
[๒๐] สมวฏฺฎกฺขนฺโธ มีลำพระศอกลมเท่ากัน
[๒๑] รสคฺคสคฺคี มีเส้นประสาทสำหรับรับรสหมดจดดี
[๒๒] สีหหนุ มีพระหนุดังคางราชสีห์
[๒๓] จตฺตาฬีสทนฺโต มีพระทนต์ ๔๐ ซี่
[๒๔] สมทนฺโต มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
[๒๕] อวิรฬทนฺโต มีพระทนต์ไม่ห่าง
[๒๖] สุสุกฺกทาโฐ มีพระทาฐะอันขาวงาม
[๒๗] ปหุตชิวฺโห มีพระชิวหาใหญ่ยาว
[๒๘] พฺรหฺมสฺสโร มีพระสุรเสียงดังเสียงพรหม
[๒๙] อภินีลเนตฺโต มีพระเนตรดำสนิท
[๓๐] โคปขุโม มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค
[๓๑] อุณฺณา มีพระอุณาโลมขาวละเอียดอ่อนดังสำลี เกิดระหว่างพระขนง
[๓๒] อุณฺหีสสีโส มีพระเศียรกลมเป็นปริมณฑลดังประดับด้วยกรอบพระพักตร์
คัมภีร์ขุททกนิกาย อปทานอรรถกถา เป็นต้น ได้แสดงลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (วิสุทธชนวิลาสินี. ๒๕๓๕)คือ
[๑] จิตงฺคุลิตา มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม
[๒] อนุปุพฺพงฺคุลิตา นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับ แต่ต้นจนปลาย
[๓] วฏฺฏงฺคุลิตา นิ้วพระหัตถ์แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี
[๔] ตมฺพนขตา พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง
[๕] ตุงฺคนขตา พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง
[๖] สินิทฺธนขตา พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
[๗] นิคูฬหโคปฺผกตา ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก
[๘] สมปาทตา พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา
[๙] คชสมานกฺกมตา พระดำเนินงามดุจอาการเดินแหงกุญชรชาติ
[๑๐] สีหสมานกฺกตา พระดำเนินงามดุจสีหราช
[๑๑] หํสสมานกฺกตา พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์
[๑๒] อุสภสมานกฺกมตา พระดำเนินงามดุจอสุภราชดำเนิน
[๑๓] ทกฺขิณาวฏฺฏคติตา ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน
[๑๔] สมนฺตโต จารุชณฺณุมณฑลตา พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก
[๑๕] ปริปุณฺณปุริสพฺยญฺชนตา มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้กิริยามารยาทคล้ายสตรี
[๑๖] อจฺฉิทฺทนาภิตา พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง
[๑๗] คมฺภีรนาภิตา พระอุทรมีสัณฐานอันลึก
[๑๘] ทกฺขิณาวฏฺฏนาภิตา ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ
[๑๙] ทฺวิรทกรสทิสอูรุภุชตา ลำพระเพลาทั้งสองงามดุจลำสุวรรณกัททลี
[๒๐] สุวิภตฺตคตฺตตา งวงแห่งเอราวัณวัณเทพหัตถี
[๒๑] อนุปุพฺพคตฺตตา พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้
[๒๒] มฏฺฐคตฺตตา พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย
[๒๓] อนุสนฺนานนุสฺสนฺนสพฺพคตฺตตา พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง
[๒๔] อลีนคตฺตตา พระสรีกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง
[๒๕] ติลกาทิวิรหิตคตฺตตาพระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง
[๒๖] อนุปุพฺพรุจิรคตฺตตา พระกายงามบริสุทธิ์สิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง
[๒๗] สวิสุทฺธคตฺตตา ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ
[๒๘] โกฏิสหสฺสหตฺถิพลธารณตา มีพระนาสิกอันสูง
[๒๙] ตุงฺคนาสตา สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม
[๓๐] สุรตฺตทฺวิชมํสตา มีพระโอษฐเบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก
[๓๑] สุทฺธทนฺตตา พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน
[๓๒] สินิทฺธทนฺตตา พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์
[๓๓] วิสุทฺทินฺทฺริยตา พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
[๓๔] วฏฺฏทาฐตา พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์ เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
[๓๕] รตฺโตฏฺฐตา พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์
[๓๖] อายตวทนตา ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย
[๓๗] คมฺภีรปาณิเลขตา พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน
[๓๘] อายตเลขตา ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก
[๓๙] อุชุกเลขตา ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว
[๔๐] สุรุจิรสณฺฐานเลขตา ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด
[๔๑] ปริมณฺฑลกายปฺปภาวนฺตตา สายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง
[๔๒] ปริปุณฺณกโปลตา รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ
[๔๓] อายตวิสลเนตฺตตา กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์
[๔๔] ปญฺจปฺปสาทวนฺตเนตฺตตา กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน
[๔๕] อากุญฺจิคตฺคปมุขตา ดวงเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
[๔๖] มุทุตนุกรตฺตชิวฺหตา ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้วอมิได้คด
[๔๗] อายตรุจิรกณฺณตา พระชิวหามีสัณฐานอันงาม
[๔๘] นิคคณฺฐิสริตา พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันแดงเข้ม
[๔๙] นิคฺคุฬหสริตา พระกรรณทั้งสองมีสันฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ
[๕๐] วฏฺฏฉตฺตนิภจารุสีสตา ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม
[๕๑] อายตปุถุนลาฏโสภตา ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้น สละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง
[๕๒] สุสณฺฐานภมุกตา แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่อมิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง
[๕๓] สณฺหภมุกตา พระเศียรมีสัณฐานอันงาม
[๕๔] อนุโลมภมุกตา ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน
[๕๕] มหนฺตภมุกตา พระนลาฏมีสันฐานอันงาม
[๕๖] อายตภมุกตา พระโขนงมีสันฐานอันงามดุจกันธนูอันก่งไว้
[๕๗] สุขุมาลคตฺตตา พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด
[๕๘] อติวิยโสมฺมคตฺตตา เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วราบไปโดยลำดับ
[๕๙] อติวิยอุชฺชลิตคตฺตตา พระโขนงนั้นใหญ่
[๖๐] วิมลคตฺตตา พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร
[๖๑] โกมลคตฺตตา ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระวรกาย
[๖๒] สินิทฺธคตฺตตา พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ
[๖๓] สุคนฺธตนุตา กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
[๖๔] สมโลมตา พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ
[๖๕] โกมลโลมตา พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย
[๖๖] ทกฺขิณาวฏฺฏโลมตา กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา
[๖๗] ภินฺนญฺชนสทิสนีลโลมตา พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
[๖๘] วฏฺฏโลมตา พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย
[๖๙] สีนิทฺธโลมตา ลมอัสสะปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด
[๗๐] อติสุขุมอสฺสาสปสฺสาสธารณตา พระโอษฐมีสันฐานอันงามดุจแย้ม
[๗๑] สุคนฺธมุขตา กลิ่นพระโอษฐ์หอมดุจกลิ่นอุบล
[๗๒] สุคนฺธมุทฺธนตา พระเกสาดำเป็นแสง
[๗๓] สุนีลเกสตา กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
[๗๔] ทกฺขิณาวฏฺฏเกสตา พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ
[๗๕] สุสณฺฐานเกสตา พระเกสามีสันฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
[๗๖] สินิทฺธเกสตา สณฺหเกสตา พระเกสาดำสนิททุกเส้น
[๗๗] อสุฬิตเกสตา พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด
[๗๘] สมเกสตา เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง
[๗๙] โกมลเกสตา เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆ เส้น
[๘๐] เกตุมาลารตนวิจิตฺตตา วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแหงพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์