ที่ตั้ง

วัดมัชฌิมวิทยาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ บ้านลาน ตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ห่างจากที่ตั้งจังหวัดขอนแก่น ประมาณ ๕๙ กิโลเมตร เดินทางตามถนนมิตรภาพ สายขอนแก่น – บ้านไผ่ ถึงอำเภอบ้านไผ่ ๔๔ กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามถนนสายบ้านไผ - บรบือ ๑๓ กิโลเมตร แยกขวาตามถนนไปอำเภอเปือยน้อยประมาณ๒ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางโดยตลอด ถึงที่ตั้งวัดมัชฌิมวิทยาราม
พระอาจารย์วิหาร สุเมโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านลาน (พ.ศ. ๒๕๒๙) ได้รวบรวมประวัติการตั้งวัดจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุไว้ในหนังสือ “ทวนความจำ” เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานฉลองการตั้งพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๘-๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ไว้ดังนี้

“ที่ตั้งหมู่บ้านนี้มีป่าไม้ใหญ่ ๆ ขึ้นหนาแน่นมากไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้นว่า ช้าง เสือ กวาง อีเก้ง .......เพราะความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติหมู่บ้านจึงเจริญขึ้นตามลำดับและได้ชื่อว่า “บ้านโนนลาน” ต่อมามีพระอาจารย์โค้งมาจากพยัคฆภูมิ (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย) มาเห็นที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้เหมาะสม จึงได้สร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ในสมัยพระอาจารย์ป้อ จนฺทสาโร เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ พระอาจารย์หลน สุจิตโต เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ทำการปฏิสังขรณ์สิมและสร้างรั้ววัดขึ้นใหม่”

สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 2412 เนื่องจากอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดกลางบ้านลาน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2427 สิมวัดกลางบ้านลานสร้างเมื่อ พ.ศ 2470 สมัยรัชกาลที่ ๗ สมัยนั้นพระอาจารย์ป้อ จนฺทสาโร เป็นเจ้าอาวาส มีขนาด 7.3 x 5 เมดร แต่บริเวณนี้มีสิมเก่ามานานแล้ว เพราะต้นไทรที่ขึ้นอยู่ข้างสิมนั้น ยังมีรูปปั้นเศียรพระ มีบาตรเก่าซึ่งรากของตันไทรงอกออกมาหอหุ้มไวั มีพระธาตุองค์เล็กๆ ตั้งไว้ข้างๆ ต้นไทร และยังมีเศษอิฐเศษหินกระจายอยู่ทั่วไป ด้านข้างๆ สิมบริเวณต้นไทรปรากฏให้เห็น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2504 พระอาจารย์หลุน สุจิตฺโต เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ปฏิสังขรณ์ สิม สร้างอาคารหลังคาคลุมครอบทับสิมหลังเดิมไว้และสร้างรั้ววัดใหม่

ประวัติความเป็นมา

สิมวัดกลางบ้านลานสร้างสมัย ร. ๗ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีสิมโบราณฮูปแต้มเรื่องพระเวสสันดร เส้นทางถนนมิตรภาพขอนแก่น – บ้านไผ่ ๔๔ กม. แยกขวาถนนบ้านไผ่-บรบือ ประมาณ ๒ กม. ก็ถึงวัด สมัย อ.ป้อ จนฺทสาโร เป็นเจ้าอาวาส มีฮูปแต้มผนังด้านนอก เขียนเรื่องพระเวสสันดร ลำดับภาพตามผนังด้านหน้าทิศตะวันออกต่อด้วยทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้ เขียนภาพหน้าทศพรไปจบกัณฑ์นครกัณฑ์ โดยแต่ละห้องภาพ มีตัวแยกทั้งอักษรไทยและอักษรไทน้อย มีขนาด ๗.๓๐ x ๕ เมตร แต่บริเวณนี้มีสิมเก่ามานานแล้ว เพราะต้นไทรที่ขึ้นอยู่ข้างสิมนั้น ยังมีรูปปั้นเศียรพระ มีบาตรเก่าซึ่งรากของตันไทรงอกออกมาหอหุ้มไว้ มีพระ ธาตุองค์เล็ก ๆ ตั้งไว้ข้าง ๆ ต้นไทร และยังมีเศษอิฐเศษหินกระจายอยู่ทั่วไป ด้านข้าง ๆ สิมบริเวณต้นไทรปรากฏให้เห็น ทางทิศเหนือของสิมหลังนี้ มีศาลาการเปรียญขนาดใหญ่รูปแบบตามสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ วัดมัชญิมวิทยารามนี้ ชาวบ้านเรียกว่า “วัดกลางบ้านลาน”

รูปแบบสถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมอีสาน มีภาพวาดฝาผนังฝีมือชาวบ้านค่อนข้างดี ที่พบในท้องถิ่นนี้ เป็น ภาพวาด (ฮูปแต้ม) จากเมืองในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน ส่วนมากเป็นเรืองพระเวสสันดรชาดก เริ่มจากกัณฑ์ทศพรไปจนถึงนครกัณฑ์ และเรื่องราวมักกะลีผลโดยแต่ละห้องภาพมีคำบรรยายทั้งอักษรไทยและอักษรไทยน้อย รูปแบบฮูปแต้มเป็นแบบท้องถิ่น ผนังด้านในไม่มีภาพเขียน มีพระพุทธรูปไม้ 2 องค์ตั้งอยู่ข้างขวาของพระประธาน องค์หนึ่งแขนข้างขวาขาด สภาพโดยทั่วไปของสิมค่อนข้างดี แต่หลังคาชำรุดซ่อมเเซมขึ้นมาใหม่ ต่อหลังคาลงมาเป็นปีกนกรอบสิม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอีสาน ตรงบันไดมีรูปปั้นพญานาค 2 ตัว ไม่มีหงอนและฝีมือไม่ประณีต

ภายในสิมวัดมัชฌิมวิทยาราม จ.ขอนแก่น ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวายืนขนาบข้าง ผนังด้านหลังพระประธานมีภาพต้นพระศรีมหาโพธิ์ประกอบ เบื้องหลังพระประธานด้านซ้ายและขวามีภาพพระอดีตพุทธเจ้าข้างละองค์
   ทางทิศเหนือของสิมหลังนี้ มีศาลาการเปรียญขนาดใหญ่รูปแบบตามสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

จิตรกรรมฝาผนัง/สีที่ใช้

ฮูปแต้มเขียนเฉพาะผนังด้านนอกทั้งสี่ด้าน เขียนภาพเต็มตลอดพื้นที่ ใช้ฝุ่นสีวรรณเย็น ได้แก่ สีคราม สีเขียว สีเหลือง สีขาวและสีดำ โดยสีดำใช้เขียนภาพโขดหิน สีเหลืองใช้เขียนภาพเครื่องแต่งกาย สีเขียวและครามใช้เขียนภาพสถาปัตยกรรมพื้นดิน พื้นน้ำ และต้นไม้ ไปผนังด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และจบเรื่องราวที่ผนังด้านทิศใต้ตามลำดับ รวม ๙ ห้องภาพด้วยกัน เริ่มจากกัณฑ์ทศพรไปจนถึงนครกัณฑ์ ภาพแต่ละตอนมีอักษรไทยและไทยน้อยเขียนบรรยายภาพประกอบ

เนื่องจากช่างได้เลือกเขียนฮูปแต้มเพียงเรื่องเดียว จึงสามารถบรรจุรายละเอียดของเรื่องราวได้อย่างสมบูรณ์แบบมากกว่าสิมแห่งอื่น ๆ และยังสะท้อนให้เห็นถึงการรู้แจ้งเห็นจริงของช่างแต้มและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเนื้อเรื่องที่ถ่ายทอดออกมา อีกทั้งยังมีทักษะในการเลือกภาพเป็นสื่อแทนเรื่องราวแต่ละตอนได้อย่างเข้าใจง่าย ชัดเจน นอกจากภาพเนื้อเรื่องแล้ว ที่เสาประดับผนังทุกต้น ก็เขียนลาดลายเครือเถาเลือกใช้สีเหลือง สีคราม สีเขียวตกแต่งอย่างสวยงามมาก

ลักษณะฮูปแต้ม

มีรูปแบบเป็นจิตกรรมไทยมากขึ้นกว่าวัดสนวนวารี ฯ บริเวณเสาเขียนสายด้านขดใบเทศ ปัจจุบันได้รับการบูรณะโดยมุงหลังคาใหม่คลุมฮูปแต้มไว้ ภายในมีเขียนภาพพุทธประวัติเพื่อประชุมสมโภชขนาดเล็ก

ลักษณะอาคาร

เป็นสิมยกฝีมือแบบช่างญวนแบ่งเป็น ๓ ห้อง มีประตูเข้าด้านเดียวด้านหน้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ๒ ห้องแรกทำเป็นหน้าต่างรูปโค้ง แต่มีบานหน้าปิดเปิด ห้องหลังสุดทึบ เขียนภาพเต็มพื้นที่ทุกด้าน หลังคาทรงจั่วมีหลังคาปีกนกโดยรอบ มีเสาค้ำยันหลังคาด้านข้างต้นละ ๕ ต้น ด้านหน้าค่อยถึงบันไดประตูเข้าภายในสิมมีเสา ๒ ต้น ขวา-ซ้าย

อาคารเสนาสนะ

เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีสิม (โบสถ์) แบบสถาปัตยกรรมอีสาน มีภาพวาดฝาผนังฝีมือชาวบ้านคอนข้างดี ใช้สีฝุน สีเหลือง เขียว ดำ ขาว คราม สีสวยงาม ละเอียดอ่อนกว่าภาพที่สิมอื่น ๆ ทีพบในท้องถิ่นนี้ เป็น ภาพวาด (ฮูปแต้ม) จากเมืองในวรรณกรรมพื้นบัานอีสาน ส่วนมากเป็นเรืองพระเวสสันดรชาดก และเรื่องราวมักกะลีผล ผนังด้านในไม่มีภาพเขียน มีพระพุทธรูปไม้ ๒ องค์ตั้งอยู่ข้างขวาของพระประธาน องค์หนึ่งแขนข้างขวาขาด สภาพโดยทั่วไปของสิมคอนข้างดี แต่หลังคาชำรุดซ่อมเเซมขึ้นมาใหม่ ต่อหลังคาลงมาเป็นปีกนกรอบสิม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอีสาน ตรงบันไดมีรูปปั้นพญานาค ๒ ตัว ไม่มีหงอนและฝีมือไม่ประณีต

วัดมัชฌิมวิทยาราม ตั้งอยู่เลขที่ 89 บ้านลาน หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ 6 ไร่ - งาน 20 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2470 ศาลาการเปรียญ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2427 และกุฎิสงฆ์ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2523 อุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเวชสันดรชาดกอยู่ด้านนอกของฝาผนังสิม ส่วนภายในนั้นไม่ได้เขียนไว้