การประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานการอุดมศึกษาที่ปรากฏตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ประกอบด้วยมาตรฐาน ๓ ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา และมาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานย่อยทั้ง ๓ ด้านนี้ อยู่ในมาตรฐานการศึกษาของชาติที่ประกอบด้วยมาตรฐานย่อย ๓ มาตรฐานเช่นกัน คือ มาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก มาตรฐานที่ ๒ แนวการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ ๓ แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ แต่ละมาตรฐานย่อยของมาตรฐานการอุดมศึกษาจะมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กับมาตรฐานย่อยของมาตรฐานการศึกษาของชาติ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาบรรลุตามจุดมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาของชาติ
นอกเหนือจากมาตรฐานการอุดมศึกษาที่เป็นมาตรฐานแม่บทแล้ว คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทามาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อนาไปสู่การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่มสถาบันที่มีปรัชญา วัตถุประสงค์ และพันธกิจในการจัดตั้งที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยมาตรฐานหลัก ๒ ด้าน คือ มาตรฐานด้านศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษา และมาตรฐานด้านการดาเนินการตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา และกาหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ก วิทยาลัยชุมชน กลุ่ม ข สถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรี กลุ่ม ค สถาบันเฉพาะทาง และกลุ่ม ง สถาบันที่เน้นการวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาโดยเฉพาะระดับปริญญาเอก นอกจากนั้น ยังได้จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อเป็นการประกันคุณภาพบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขาวิชา โดยกำหนดให้คุณภาพของบัณฑิตทุกระดับคุณวุฒิและสาขาวิชาต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้อย่างน้อย ๕ ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ อาทิ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความทัดเทียมกันและพัฒนาสู่สากล ซึ่งทำให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัว และต่อเนื่องในทุกระดับการศึกษา ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เริ่มดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดีร่วมกับคณะกรรมการจัดการประชุมเสวนาแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ได้จัดให้มีการประชุมเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา โดยการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจและชี้แจงถึงความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและวิทยาเขตเข้าร่วมประชุม โดยอธิการบดีเป็นประธาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมาให้คาปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
การดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ (ทอมก) ซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าควรดำเนินการให้เป็นไปตามระบบ ซึ่งเหมาะสมกับธรรมชาติของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เวลานั้นเป็นช่วงที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กำลังดำเนินการปรับเกณฑ์มาตรฐานตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบประกันคุณภาพให้เหมาะสมกับการเรียนการจัดการศึกษาของไทย
ระยะที่หนึ่ง คณะกรรมการอำนวยการการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยตามระบบ IPOI คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) และปัจจัยผลกระทบ (Impact) ประกอบด้วย ๑๒ ปัจจัย ๕๒ เกณฑ์ และ ๕๙ ตัวชี้วัด เกณฑ์เหล่านี้ใช้ประเมินคุณภาพภายใน ครั้งที่ ๑ (๒๕๔๔ ๒๕๔๖) ใช้ระบบให้คะแนนเป็น ๓ A (Awareness Attempt and Achievement)
ระยะที่สอง การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ก็ยังใช้ระบบเดิมทุกประการ คือระบบ IPOI คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) และปัจจัยผลกระทบ (Impact) โดยคณะกรรมการอำนวยการได้ปรับปรุงและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษามาเป็น ๑๕ ปัจจัย ๕๘ ตัวชี้วัด เกณฑ์เหล่านี้ใช้ประเมินคุณภาพภายใน ครั้งที่ ๒ (๒๕๔๗ ๒๕๔๘) ใช้ระบบให้คะแนนเต็ม ๕ คะแนน ระยะนี้เองที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เข้ามาประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัย ในรอบที่ ๑ (๘ มีนาคม ๒๕๔๘)
ระยะที่สาม หลังจากที่สำนักงานงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเข้ามาประเมิน คุณภาพภายนอกและรายงานผลการประเมินแล้ว คณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ปรับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยใหม่ เพื่อให้เรียกง่ายและสะดวกต่อการดำเนินงานของทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย โดยปรับจากปัจจัยเป็นมาตรฐานตาม สมศ. ประกอบด้วย ๗ มาตรฐาน ผสมผสานจากปัจจัยทั้งหมดเข้ามาอยู่ตามมาตรฐานนั้นๆ ระบบนี้ครอบคลุมการดำเนินการ ของส่วนงานที่จัดการศึกษาและส่วนงานที่สนับสนุนการศึกษาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยทุกประการ ดังนี้
มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพบัณฑิต
มาตรฐานที่ ๒ ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ ๓ ด้านการบริการวิชาการและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
มาตรฐานที่ ๔ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
มาตรฐานที่ ๕ ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร
มาตรฐานที่ ๖ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
มาตรฐานที่ ๗ ด้านการประกันคุณภาพ
คณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ครั้งที่ ๓ (๒๕๔๙ ๒๕๕๐) โดยใช้ระบบ ๗ มาตรฐาน ตามเกณฑ์การประเมินของ สมศ. เพื่อเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ข้อมูลที่ได้จากการประเมินคุณภาพภายในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลสาหรับการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.ในรอบที่ ๒ (๒๓ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๑)
ระยะที่สี่ หลังจากที่มหาวิทยาลัยผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบที่สองแล้ว จึงได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ปรับระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเป็น ๙ องค์ประกอบ ๕๖ ตัวบ่งชี้ ใช้ระบบให้ คะแนนเต็ม ๓ คะแนน มหาวิทยาลัยดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยระบบนี้ในปี การศึกษา ๒๕๕๐ – ๒๕๕๒ ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑ ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ
องค์ประกอบที่ ๒ การเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ ๓ กิจกรรมการพัฒนานิสิต
องค์ประกอบที่ ๔ การวิจัย
องค์ประกอบที่ ๕ การบริการทางวิชาการแก่สังคม
องค์ประกอบที่ ๖ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ ๗ การบริหารและการจัดการ
องค์ประกอบที่ ๘ การเงินและงบประมาณ
องค์ประกอบที่ ๙ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
ระยะที่ห้า มหาวิทยาลัยได้จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยใช้เกณฑ์ประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นหลัก ผนวกกับเกณฑ์ ประเมินของสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ประเมิน คุณภาพการศึกษาของส่วนงานที่จัดการศึกษาทุกส่วนงาน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ระบบ การประกันคุณภาพการศึกษาครั้งนี้ มี ๙ องค์ประกอบ ๔๒ ตัวบ่งชี้ แบ่งเป็นปัจจัยนำเข้า (Input) ๔ ตัวบ่งชี้ กระบวนการ (Process) ๑๘ ตัวบ่งชี้ และผลผลิต (Output) หรือผลกระทบ (Impact) ๒๐ ตัวบ่งชี้ ใช้ระบบการให้คะแนนเต็ม ๕ คะแนน มหาวิทยาลัยดำเนินการการ ประกันคุณภาพการศึกษาด้วยระบบนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓
พ.ศ.๒๕๕๖ มหาวิทยาลัยผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามของสำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) (๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖) และผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจากสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) (๒๒-๒๕ กันยายน ๒๕๕๖) ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และ วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งกำหนดให้ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่าง น้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปีและเปิดเผยผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อสาธารณชน
ระยะที่หก มหาวิทยาลัยออกข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๗ กำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย (๑) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และ (๒) ระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาภายนอก ครอบคลุมพันธกิจทั้ง ๔ ด้านของมหาวิทยาลัย คือ การจัดการ เรียนการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัย หลักการและ แนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยมีกลไกในการประกันคุณภาพการศึกษา คือ คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และคณะอนุกรรมการประกัน คุณภาพการศึกษาของส่วนงาน
คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยใช้เกณฑ์ประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นหลัก แบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) ระดับหลักสูตร (๒) ระดับคณะ วิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ และ (๓) ระดับ สถาบัน ใช้ระบบให้คะแนนเต็ม ๕ คะแนน มหาวิทยาลัยดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยระบบนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประกอบด้วย ๖ องค์ประกอบ ๑๔ ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ ๑ การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ ๒ บัณฑิต
องค์ประกอบที่ ๓ นิสิต
องค์ประกอบที่ ๔ อาจารย์
องค์ประกอบที่ ๕ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
องค์ประกอบที่ ๖ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
๒) การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ วิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตรและเพิ่มเติม ๕ องค์ประกอบ ๑๓ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑ การผลิตบัณฑิต
องค์ประกอบที่ ๒ การวิจัย
องค์ประกอบที่ ๓ การบริการวิชาการ
องค์ประกอบที่ ๔ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารจัดการ
๓) การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประกอบด้วยผลการดำเนินงาน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ วิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ และเพิ่มเติม ๕ องค์ประกอบ ๑๓ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑ การผลิตบัณฑิต
องค์ประกอบที่ ๒ การวิจัย
องค์ประกอบที่ ๓ การบริการวิชาการ
องค์ประกอบที่ ๔ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารจัดการ
เพื่อให้การจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่ กำหนดทั้งมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษาทั้งมาตรฐาน สถาบันอุดมศึกษา และสัมพันธ์กับมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาอื่น ๆ รวมถึงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องมีระบบประกันคุณภาพ ที่พัฒนาขึ้นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ทั้งนี้ ความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการศึกษา หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการประกันคุณภาพการศึกษา
จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในแต่ละระดับเพื่อการควบคุม คุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาในระดับหลักสูตร ระดับคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์และระดับสถาบันตามระบบและกลไกที่ได้กำหนดขึ้น เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ทราบสถานภาพที่แท้จริง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางและ พัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์และมาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง
ทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา โดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ต้องดำเนินการทุกรอบปี การศึกษา และให้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย
แนวทางการจัดกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในแยกออกเป็น ๔ ขั้นตอนตามระบบวงจรการพัฒนาคุณภาพ PDCA / PDSA คือ การวางแผน (Plan) การดำเนินงานและเก็บข้อมูล (Do) การประเมินคุณภาพ (Check / Study) และการเสนอแนวทางการปรับปรุง (Act)
ความจำเป็นและวัตถุประสงค์การประกันคุณภาพการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
ปัจจัยภายในและภายนอกที่ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ
๑) คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและบัณฑิตภายในประเทศที่มีแนวโน้มแตกต่างกัน มากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคมโดยรวมของประเทศในระยะยาว
๒) ความท้าทายของโลกาภิวัตน์ต่อการอุดมศึกษา ทั้งในประเด็นการบริการ การศึกษาข้ามพรมแดน และการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบัณฑิต การประกอบอาชีพของ บัณฑิตในอนาคต อันเป็นผลจากการรวมตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเด็น ต้องการการรับประกันของคุณภาพการศึกษา
๓) สถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถ พัฒนาองค์ความรู้และผลิตบัณฑิต ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้ง อุตสาหกรรมและบริการการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน
๔) สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป
๕) สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบซึ่งตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล
๖) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มี สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
๗) คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ เพื่อเป็นกลไกกำกับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และระดับหน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบการ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
๘) กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ และคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นไปตาม มาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและ สาขาวิชา
๙) กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐาน สถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกำกับให้ สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ๔ กลุ่ม
ด้วยเหตุนี้ สถาบันอุดมศึกษาร่วมกับต้นสังกัดจึงพัฒนาระบบและกลไกการประกัน คุณภาพการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
๑) เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตั้งแต่ระดับหลักสูตร ภาควิชา คณะ วิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม ตามระบบคุณภาพและกลไก ที่สถาบันนั้น ๆ กำหนดขึ้น โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ใน องค์ประกอบคุณภาพต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์และได้มาตรฐาน
๒) เพื่อให้หลักสูตรภาควิชาคณะวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าและสถาบันอุดมศึกษาทราบสถานภาพของตนเองอันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการพัฒนา คุณภาพไปสู่เป้าหมาย (Targets) และเป้าประสงค์ (Goals) ที่ตั้งไว้ตามจุดเน้นของตนเองและเป็นสากล
๓) เพื่อทราบจุดแข็ง จุดที่ควรปรับปรุง ตลอดจนได้รับข้อเสนอแนะในการพัฒนาการ ดำเนินงานเพื่อเสริมจุดแข็ง และพัฒนาจุดที่ควรปรับปรุง ในแต่ละระดับอย่างต่อเนื่อง
๔) เพื่อให้ข้อมูลสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้มั่นใจว่า สถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้างผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กำหนด
๕) เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการอุดมศึกษาในแนวทางที่เหมาะสม
ระบบและกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับหลักสูตร
ในการผลิตบัณฑิตเพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะพึงประสงค์และเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ การดำเนินงานและการบริหารงานระดับหลักสูตรถือว่าสำคัญที่สุด ซึ่งควรมีระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้
๑. การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร เป็นการประกันคุณภาพ การจัดการศึกษาว่าหลักสูตรได้ดำเนินการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้พิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การกำกับมาตรฐาน บัณฑิต นิสิต อาจารย์ หลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน และสิ่ง สนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ
๒. ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ให้เชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้ การดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อประโยชน์ ในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่ง สกอ. ได้กำหนดแนวทางการเผยแพร่ หลักสูตรไว้ในประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒
๓. ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร จะต้องรายงาน ข้อมูลพื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และตัวบ่งชี้เชิง ปริมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ และผลงานทางวิชาการของอาจารย์ สำหรับตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพที่เน้นกระบวนการ จะประเมินในลักษณะของพิชญพิจารย์ (Peer Review) ซึ่งจะมีรายละเอียดของคำถามที่จะเป็นแนวทางให้แก่ผู้ประเมินเพื่อให้สามารถนำไป พิจารณาตามบริบทของสถาบันได้ และได้กำหนดแนวทางในการให้คะแนนในแต่ละระดับ สำหรับผู้ประเมินและผู้รับการประเมินได้ใช้ในการพิจารณา
อาจารย์ประจำหลักสูตรกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยอนุมัติ และเริ่มจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒๕๕๕
อาจารย์ประจำหลักสูตร หมายถึง อาจารย์ประจำเต็มเวลาที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยวางแผน ติดตาม ทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร และประจำหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น มีคุณวุฒิตรงหรือ สัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่า ๕ คน เป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า ๑ หลักสูตรใน เวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาโทและเอกในสาขาวิชาเดียวกัน ได้ หรือเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรในหลักสูตรพหุวิทยาการได้อีก ๑ หลักสูตรโดยต้องเป็นหลักสูตรที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่ได้ประจำอยู่แล้ว (กกอ. ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙)
หากมีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตร ขอให้เสนอดำเนินการปรับปรุงเล็กน้อย โดยนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ และเสนอให้ สกอ.รับทราบตามแบบฟอร์ม สมอ. ๐๘ ภายใน ๓๐ วัน
อาจารย์ประจำหลักสูตร มีภาระและหน้าที่ในการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การติดตามประเมินผลหลักสูตร โดยทำหน้าที่ ดังนี้
๑. จัดให้มีการทำรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.๓) ทุกรายวิชา ก่อนเปิดสอนในแต่ ละภาคการศึกษา เพื่อตรวจสอบและรับรองตามเวลาที่กำหนด
๒. จัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดรายวิชา (มคอ.๓ และ มคอ. ๔) โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการพัฒนาแบบวิธีการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
๓. จัดทำทำเนียบและประวัติผู้สอนทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์พิเศษ
๔. กำกับและติดตามการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนการสอน
๕. ให้คำแนะนำ ปรึกษา การวางแผนการศึกษาแก่นิสิต
๖. ออกข้อสอบ คุมสอบ วัดผลประเมินผลการเรียนตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดวิชา และตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
๗. กำกับให้นิสิตเข้าประเมินผลการสอนในรายวิชาที่สอนหรือรับผิดชอบ ในระบบการประเมินรายวิชาตามระยะเวลาที่กำหนด
๘. จัดให้มีการทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.๕/มคอ.๖) ภายใน ๓๐ วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษา และนำผผลการประเมินรายวิชาไปพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน (หลักสูตรเก่าใช้ สมอ.๐๗)
๙. จัดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิตตามมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ในระหว่างปีการศึกษา
๑๐. จัดให้มีการทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (มคอ.๗) ภายใน ๖๐ วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษาและนำผลการประเมินหลักสูตรไปพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการหลักสูตร
๑๑. ทวนสอบผลการเรียนรู้ของนิสิตรายวิชา (การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิตตาม มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.๓ อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา)
๑๒. รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของหลักสูตร การประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตร จัดทำรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร
๑๓. ดำเนินการตามกรอบมาตรฐาน TQF (กรณีมีนิสิตคงค้างอยู่ก่อนหน้าหลักสูตร TQF)
๑๔. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำรายงานการประชุมที่เกี่ยวกับการวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร (ควรประชุมทุกเดือน) ก่อนเปิดภาค เรียนที่ ๑ เพื่อวางแผนการเปิดรายวิชาในภาคเรียนที่ ๑ ระหว่างภาคเรียนที่ ๑ และก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๒ ติดตามผลการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ ๑ และการเปิดรายวิชาในภาคเรียนที่ ๒ สิ้นภาคเรียนที่ ๒ เพื่อจัดทำรายงาน มคอ.๗ เป็นต้น
๑๕. เข้าประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย ร้อยละ ๘๐ มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร แผนการบริหารและพัฒนาคณาจารย์ทั้งด้านวิชาการ เทคนิคการสอน และการวัดผล และมีแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ รวมทั้ง การจัดการความรู้ การอบรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การดำเนินงาน การบริหารจัดการ หลักสูตร การเรียนการสอน การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา และระดับหลักสูตร การติดตามประเมินผล การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร การประกันคุณภาพหลักสูตรตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนด
๑๖. ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีระดับวิทยาลัยสงฆ์ ระดับหลักสูตร และติดตาม ประเมินผลการใช้แผนร่วมกัน
๑๗. ติดตามการประเมินความพึงพอใจของนิสิตปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่มี่มีต่อคุณภาพหลักสูตร
๑๘. อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียน การสอน การวัดผลประเมินผล SAR เอกสารประกอบ
๑๙. อาจารย์ประจำทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒๐. การยื่นเอกสารประเมินบุคลากรเดือนธันวาคม และสิงหาคม
๒๑. การนำข้อมูลและผลการดำเนินงานรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น เพื่อให้มีการบันทึกในรายงานการประชุม
๒๒. การสำรวจสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนของนิสิต
๒๓. การรับฟังข้อร้องเรียนนิสิต เพื่อนำมาสู่การแก้ไข (มีหลักฐาน)
๒๔. สรุปผลการให้คำปรึกษาแก่นิสิต
กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตร |
ตัวบ่งชี้ |
ประเด็นพิจารณา |
๑. การกำกับมาตรฐาน | ๑.๑ การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ. | ผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปริญญาตรี เกณฑ์ ๔ ข้อ บัณฑิตศึกษา เกณฑ์ ๑๒ ข้อ |
๒. บัณฑิต | ๒.๑ คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | ผลประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (โดยผู้ใช้บัณฑิต/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) |
๒.๒ การได้งานทำหรือ ผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา – (ปริญญาตรี) ร้อยละของบัณฑิตบรรพชิต ปริญญาตรีที่ปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์และบัณฑิตคฤหัสถ์ปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี – (ปริญญาโท) ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ – (ปริญญาเอก) ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ |
– ผลบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ – ผลงานของนิสิตปริญญาโท/เอกที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ |
|
๒.๓ บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด | – ผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด | |
๓. นิสิต | ๓.๑ การรับนิสิต | – การรับนิสิต – การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา |
๓.๒ การส่งเสริมและพัฒนานิสิต | – การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการ และแนะแนวแก่นิสิตในระดับปริญญาตรี – การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา – การพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้าง ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ |
|
๓.๓ ผลที่เกิดกับนิสิต | – อัตราการคงอยู่ของนิสิต – อัตราการสำเร็จการศึกษา – ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต |
|
๔. อาจารย์ | ๔.๑ การบริหารและพัฒนาอาจารย์ | – การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร – การบริหารอาจารย์ – การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ |
๔.๒ คุณภาพอาจารย์ | – ร้อยละอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก – ร้อยละอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ – ผลงานวิชาการของอาจารย์ – จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ SCOPUS ต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร |
|
๔.๓ ผลที่เกิดกับอาจารย์ | – อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ – ความพึงพอใจของอาจารย์ |
|
๕. หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | ๕.๑ สาระของรายวิชาในหลักสูตร | – หลักคิดในการออกแบบหลักสูตร ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร – การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตาม ความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ – การพิจารณาอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา |
๕.๒ การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน | – การพิจารณากำหนดผู้สอน – การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ มคอ.๓ และ มคอ.๔ – การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา – การกำกับกระบวนการเรียนการสอน – การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาตรี – การบูรณาการพันธกิจต่างๆ กับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี – การช่วยเหลือ กำกับ ติดตาม ในการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ และการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา |
|
๕.๓ การประเมินผู้เรียน | – การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ – การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต – การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.๕ มคอ.๖ และมคอ.๗) – การประเมินวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา |
|
๕.๔ ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | |
๖. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | ๖.๑ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | – ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/ วิทยาเขต/วิทยาลัยสงฆ์/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่ง สนับสนุนการเรียนรู้ – จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน – กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
ที่มา
-คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๗
-คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ขั้นตอนการจัดทำรายงานการประเมินตนอง ระดับหลักสูตร
ก่อนเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร (SAR) จะต้องมีการทบทวนรายละเอียดตัวบ่งชี้ มาตรฐาน และประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศ และการ ปรับเกณฑ์การประเมินในรอบปีที่ผ่านมา กำหนดแบบฟอร์ม และวิธีการเขียน รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ทุกระดับ จัดให้มีการอบรม/สัมมนา/แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงาน มีความรู้ความเข้าใจตรงกันของผู้ปฏิบัติงานทุกส่วนงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน ของแต่ละหลักสูตร ทราบจุดแข็ง และจุดที่ควรพัฒนา สำหรับเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงาน ให้ส่วนงานต้นสังกัดมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการอุดมศึกษาใน แนวทางที่เหมาะสมตามองค์ประกอบคุณภาพทั้ง ๖ ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑ การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ ๒ บัณฑิต
องค์ประกอบที่ ๓ นิสิต
องค์ประกอบที่ ๔ อาจารย์
องค์ประกอบที่ ๕ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
องค์ประกอบที่ ๖ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรโดยมี การดำเนินงานได้ตามมาตรฐานเทียบเคียงกับมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ ทุกระบบต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาสถาบันและเสนอคณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้มีการจัดส่งผลการประเมินพร้อมข้อมูลพื้นฐานให้กับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ ตัวอย่างการประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน ระดับหลักสูตร ที่เทียบเคียงได้ เช่น ผลการประเมินหลักสูตรของ AUN QA ผลการประเมิน หลักสูตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจากองค์การวิชาชีพระดับนานาชาติ เช่น AACSB (สำหรับหลักสูตร ทางด้านบริหารธุรกิจ) ABET (สำหรับหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์) และหลักสูตรที่ได้รับการตรวจ ประเมินเป็นประจำและผ่านการรับรองโดยสภาวิชาชีพ (คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา คณะอนุกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา, ๒๕๕๘ : ๔๔ – ๔๘) ดังกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ตามระบบ I–P-O ดังตาราง กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ตามระบบ I–P-O
องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตร |
ตัวบ่งชี้ |
ประเด็นพิจารณา |
I–P-O |
๑ .การกำกับมาตรฐาน | ๑.๑ การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ. | ผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปริญญาตรี เกณฑ์ ๓ ข้อ บัณฑิตศึกษา เกณฑ์ ๑๑ ข้อ |
มาตรฐาน |
๒. บัณฑิต | ๒.๑ คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | ผลประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
O |
๒.๒ การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา – ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี – ผลงานของนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาใน ระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือ เผยแพร่ผลงานของนิสิต และผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ |
– ผลบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ – ผลงานของนิสิตปริญญาโท/ปริญญาเอก ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ |
O |
|
๒.๓ บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด | – ผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด |
O |
|
๓. นิสิต | ๓.๑ การรับนิสิต | – การรับนิสิต – การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา |
I |
๓ .๒ การส่งเสริมและพัฒนานิสิต | – การควบคุมการดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตในระดับปริญญาตรี – การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – การพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ |
I |
|
๓.๓ ผลที่เกิดกับนิสิต | – อัตราการคงอยู่ของนิสิต – อัตราการสำเร็จการศึกษา – ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต |
I |
|
๔.อาจารย์ | ๔ .๑ การบริหารและ พัฒนาอาจารย์ | – การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร – การบริหารอาจารย์ – การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ |
I |
๔.๒ คุณภาพอาจารย์ | – ร้อยละอาจารย์ที่จบปริญญาเอก – ร้อยละอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ – จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ SCOPUS ต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร |
I |
|
๔.๓ ผลที่เกิดกับอาจารย์ | – อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ – ความพึงพอใจของอาจารย์ |
I |
|
๕ . หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | ๕.๑ สาระของรายวิชาในหลักสูตร | -หลักคิดในการออกแบบหลักสูตรข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร – การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขาวิชานั้นๆ – การพิจาณาอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา |
I |
๕.๒ การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน | ผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน – การพิจารณากำหนดผู้สอน – การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ มคอ. ๓ และ มคอ. ๔ – การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – การกำกับกระบวนการเรียนการสอน – การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาตรี – การบูรณาการพันธกิจต่างๆ กับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี – การช่วยเหลือกำกับติดตามในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ และการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา |
P |
|
๕.๓ การประเมินผู้เรียน | – การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ – การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต – การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.๕ มคอ.๖ และ มคอ.๗) – การประเมินวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา |
P |
|
๕.๔ ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | – ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
P |
|
๖. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | ๖.๑ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | – ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน – กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
P |
ที่มา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ๒๕๕๙ : ๓๔.