พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ผศ.ดร.

ตำแหน่ง : อาจารย์
สาขาวิชา : พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

e-mial : starsiam45@hotmail.com

ผลงานวิชาการ

ที่ชื่อโครงการเลขที่สัญญาปี งปม.แหล่งทุนตำแหน่งสถานะ
1พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทางสังคมว.../25562556สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ผู้ร่วมวิจัยตีพิมพ์
2รูปแบบและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของบ้าน วัด โรงเรียนในการจัดการปัญหายาเสพติดแนวพุทธในจังหวัดขอนแก่น ว.003/25592559สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์หัวหน้าโครงการตีพิมพ์
3การประสานกลไกทางพุทธศาสนาเพื่อสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันตุสุขในประชาคมอาเซียนว..../25592559ผู้ร่วมวิจัยตีพิมพ์
4พระพุทธศาสนาในเส้นทางสายไหม, ประวัติศาสตร์, หลักฐานทางโบราณคดีและพัฒนาการการสร้างอารยธรรมของมนุษยชาติว.143/25602560สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์หัวหน้าโครงการตีพิมพ์
5การสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธของเครือข่ายป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2561วช.ผู้ร่วมวิจัยอยู่ระหว่างดำเนินการ
6การศึกษากระบวนทัศน์ด้านอิทธิพลของพุทธศาสนาต่อกลุ่มชาติพันธ์ในภูมิภาคอินโดจีน2562วช.ผู้ร่วมวิจัยอยู่ระหว่างดำเนินการ
ที่ชื่อเรื่องชื่อวารสารหน่วยงานฉบับที่ตีพิมพ์หมายเหตุ
1อันเนื่องมาจากปกมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 11 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2554 - กุมภาพันธ์ 2555ผู้นิพนธ์
2พระบรมสารีริกธาตุจากกรุงกบิลพัสดุ์สู่มหาจุฬาฯธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มีนาคม - มิถุนายน 2555ผู้นิพนธ์
3พุทธมณฑลนครขอนแก่น ความภาคภูมิใจของคนอีสานธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2555ผู้นิพนธ์
4อินเดีย พ.ศ. 1777ธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2555 - กุมภาพันธ์ 2556ผู้นิพนธ์
5ปกป้องพุทธสถานเมส ไอแนกเพื่อมวลมนุษยชาติธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2555ผู้นิพนธ์
6อันเนื่องมาจากปก วาดภาพพุทธศิลป์ ฉลองพุทธชยันตีธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2555 - กุมภาพันธ์ 2556ผู้นิพนธ์
7พระสงฆ์จีนกับการจาริกแสวงบุญสู่ชมพูทวีปธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 11 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2554 - กุมภาพันธ์ 2555ผู้นิพนธ์
8ศาสนาทำให้สังคมล้าหลังหรือไม่สร้างวิทยาลัยสงฆ์วิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน ตุลาคม 2018ผู้นิพนธ์
9เยือนกัศมีร์ ตามสำรวจพุทธสถานธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นปีที่ 13 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มีนาคม 2556 - มิถุนายน 2556ผู้นิพนธ์
10การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพระพรหมในสังคมไทยงานประชุมวิชาการระดับชาติ ณ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ผู้นิพนธ์
11รูปแบบและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของบ้าน วัด โรงเรียนในการจัดการปัญหายาเสพติดแนวพุทธ ในจังหวัดขอนแก่นงานประชุมระดับชาติ ที่มจร.ขอนแก่นมจร.ขอนแก่น31 มีนาคม 2560/2017ผู้นิพนธ์
12ถกพระอีสาน ลาว เขมรงานสัมมนาวิชาการอีสาน ลาว แขมร์ศึกษาในกรอบประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๖มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี๒๘-๒๙ พย.๒๕๕๖ผู้ร่วมนิพนธ์
13วิเคราะห์จิตอาสาที่ปรากฏในการทำงานของสมาคมสตรีอาเซียน จังหวัดกาฬสินธุ์การประชุมวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ ๑มจร.วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด๒๒ กพ.๒๕๖๒ผู้ร่วมนิพนธ์
ที่ชื่อหนังสือISBNปีที่พิมพ์จำนวนหน้าราคา
1พระพุทธศาสนาในลาว 2555273
2จาริกสู่อินเดีย 2555250
3ตามสำรวจพุทธสถานในอินเดีย 2554380350
4พุทธสถานที่ถูกลืมในอินเดีย997-697-060-7 254712789
5สารนาถแดนกำเนิดพระรัตนตรัย978-974-697-089-1 255013798
6ถ้ำพุทธศาสนาในอินเดีย974-493-926-5 2548200130
7พระพุทธศาสนาในกัมพูชา978-616-300-061-3 255516389
8พระพุทธศาสนาในลาว978-616-305-797-6 2555273189
9แบบเรียนอักษรธรรมอีสานและไทน้อย978-616-413-549-9 25597670
10พระพุทธศาสนาในเวียนนาม978-616-300-015-6 2557170145
11ตามสำรวจพุทธสถานในอินเดีย พิมพ์ครั้งที่ 2978-974496-883-8 2557350380
12พุทธคยา978-616-445-496-5 2560297200
13สังคายนาในพระพุทธศาสนา978-616-474-981-8 2561273195
14วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา978-616-300-329-4 2560274200
15ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พิมพ์ครั้งที่ 4978-974-88175-2-1 2557321199
16ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พิมพ์ครั้งที่ 3978-974-88175-2-1 2553372200
17เยือนอินเดียตามรอยอารยธรรมพุทธ 2551452250
18 จาริก...สู่อินเดีย978-974-364-997 255515399
19พระพุทธศาสนาในจีน978-974-697-111-9 25522500270
20นครราชคฤห์เมืองหลักของพระพุทธศาสนา974-453-890-2 2548259200
21ย้อนรอยอดีตพุทธศาสนาในอัฟกานิสถาน 974-697-071-2 254816090
22กุสินาราแดนปรินิพพานของพระพุทธองค์978-616-497-689-4 2562264199
23พาราณสี เมืองบำเพ็ญบารมีของพระพุทธองค์978-616-497-985-7 2562364250
24พาราณสี เมืองบำเพ็ญบารมีของพระพุทธองค์978-616-497-985-7 2562362250
ที่รหัสวิชาชื่อวิชาปีที่พิมพ์จำนวนหน้า
1101253สัมมนาพระพุทธศาสนา2557208
ที่ชื่อรายการรายละเอียดดูวีดิโอ
1รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอน เยื่ยมสุสานเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมรายการ ท่องแดนพุทธภูมิ ตอน เยื่ยมสุสานเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ณ สุสานแคนซอล กรีน เซมีเทอรี่ ( Kensal Green Cemetery ) กลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ดำเนินรายการโดย พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ผศ.ดร. วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒
2รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอนตามสำรวจพุทธสถานที่หมู่บ้านอะเมานี An Buddhist Monument at Amauni EP.2พุทธสถานที่หมู่บ้่านอะเมานี (Amauni) ได้รับการสำรวจครั้งโดยเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม อดีตผู้อำนวยการของกรมโบราณคดีอินเดียในปีพ.ศ.๒๔๐๔ (ค.ศ.๑๘๖๑) ต่อมาวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ ผู้รวบรวมได้ตามรอยคันนิ่งแฮมมาสำรวจที่นี่ว่าจะพบอะไรบ้าง
3รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอนสำรวจเสาหินโบราณที่เมืองภคัลปูร์ (Ancient Pillar at Bhagalpur)EP.3เสาเหินที่หมู่บ้านภคัลปูร์ อำเภอเดวเรีย รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย (The Ancient Pillar at Bhagalpur in Deoria District of Uttar Pradesh, India) เป็นเสาหินทำจากหินทรายแดง จากจารึกที่เสาระบุว่าพระเจ้าสกันธคุปตะโปรดให้สร้างไว้ ตัวเสาถูกสกัดจนแหว่งไปเกือบครึ่งน่ากลัวว่าจะหักลงสักวัน นักโบราณคดีชาวอังกฤษเข้ามาสำรวจตั้งแต่พ.ศ.๒๔๑๔ (ค.ศ.๑๘๗๑) คณะเดินทางไปสำรวจวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ ที่นี่ทางเข้ามานั้นยากมาก มีชาวบ้านน้อยคนจะรู้ เพราะไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
4รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอนสำรวจซากสถูปโบราณที่หมู่บ้านสาครทีห์ (The Ancient Stupa at Sagardih) EP.4พุทธสถานที่หมู่บ้านสาคระทีห์ อำเภอบูรพาจัมปารัล รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย (The Ancient Buddhist Stupa at Sagardih Village, 12 kms. from Kesariya Stupa in Purva Champaran, Bihar, India) ห่างจากสถูปเกสเรีย ๑๒ กิโลเมตร ค้นพบครั้งแรกโดยเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม พ.ศ.๒๔๐๔ (ค.ศ.๑๘๖๑) เป็นสถูปขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐแดง ในระหว่างขุดค้นพบจารึกเยธัมมาฯ และพระพุทธรูปหลายองค์ มาถึงปัจจุบันยังไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการแต่อย่างใด ปล่อยให้ต้นไม้ปกคลุม ยังโชคดีที่มีการติดป้ายระบุว่าเป็นโบราณสถานของรัฐบาล (National Protected Monument) หวังว่ารัฐบาลอินเดียจะเห็นความสำคัญเข้ามาขุดค้นต่อไปในอนาคต
5รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอน สำรวจซากสถูปโบราณที่หมู่บ้านฆะฏาโร (The Ancient Stupa at Ghataro) EP.5หมู่บ้านฆะฏาโร อยู่ห่างจากเมืองลาลกันช์ อำเภอหาชีปูร์ รัฐพิหาร ปรระเทศอินเดีย (The Ancient Buddhist Site at Ghataro Village, 8 kms.from Lalganj in Hajipur District, Bihar, India) ๘ กิโลเมตร ที่นี่มีซากโบราณสถานหลายจุด ที่สำคัญคือเนินโบราณนามว่าโดซ่า อยู่กลางสวนมะม่วงของชาวบ้าน สถาบันวิจัยด้านโบราณคดีในรัฐพิหารนามว่าเค.พี.นำโดยนาพิจอย กุมาร เชาธุรี (Bijoy Kumar Chaudhuri) มาสำรวจในปีพ.ศ.๒๕๕๒ พบว่าเป็นซากสถูปโบราณ ปัจจุบันยังไม่การขุดค้นแต่อย่างใด
6รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอน เสาหินและซากโบราณสถานที่หมู่บ้านภีรตี (The Ancient Pillar at Bhitari) EP.6หมู่บ้านภีตรี อ.ฆาชีปูร์ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย (The Ancient Pillar at Bhitari Village in Ghazipur District, Uttar Pradesh, India) ห่างจากเมืองสารนาถ สถานที่แสงดธรมของพระพุทธองค์ ๖๘ กิโลเมตร มีซากโบราณสถานคือ ๑.เสาหินสมัยคุปตะ พร้อมจารึก สูง ๘ เมตร ทรงกลม แกะด้วยหินทรายแดง ที่ยอดทำเป็นฐานบัว คล้ายเสาสมัยพระเจ้าอโศก ๒.ซากโบราณสถาน ก่อด้วยอิฐแดงสมัยคุปตะ สันนิษฐานว่าวัดทางพุทธศาสนา ได้รับการขุดค้น พ.ศ.๒๕๓๓ ปัจจุบันกรมโบราณคดีอินเดียได้ทำกำแพงล้อมไว้ และดูแลอย่างดี นับเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่น่าสนใจ
7รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอน พระโพธิสัตว์แกะสลักบนหน้าผาที่การ์คิล (Bodhisatva Statue at Kargil) EP.7รูปพระโพธิสัตว์จัมปา แกะสลักหน้าผาที่หมู่บ้านดราส ใกล้การ์คิล รัฐชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย (The Champa Bodhisatava Statue in Drass Sector, Kargil, Jummu and Kashmir, India) ตั้งอยู่เหนือสุดของอินเดีย สร้างพ.ศ.๙๐๐ สูง ๑๐ เมตรเศษ เป็นพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย์ อากาศที่เป็นที่เอากาศเย็นมากเป็นอันดับสองของอินเดีย ปัจจุบันชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากพระโพธสัตว์ที่การ์คิลแล้ว ยังมีอีก ๒ แห่งคือ ที่มุลเบข สูง ๙ เมตร สร้างพ.ศ.๙๐๐ และอีกแห่งคือที่หมู่บ้านอาปาตี ห่างจากเมืองการ์คิล ๑๖ กิโลเมตร สร้างพ.ศ.๑๐๐๐ ที่งามสุดคือพระโพธิสัตว์ที่มุลเบข
8รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอนสำรวจพุทธสถานที่ภูเขาลังกุดี (The Buddhist Site at Langudi hill ) EP.8เทือกเขาลังกุดี เป็นเนินเขาขนาดย่อมๆ ตั้งอยู่ในอำเภอชาชปูร์ รัฐโอดิศา (เดิมคือโอริสสา) ประเทศอินเดีย (The Ancient Buddhist Site at Langudi Hill in Jajpur District , Odisha, India) ห่างจากเมืองภูพเนศวาร์ เมืองหลวงของรัฐ ๗๓ กิโลเมตร พุทธสถานแห่งนี้ สร้างตั้งแต่พ.ศ.๒๐๐ ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา สังกัดนิกายวัชรยาน ภายในมีซากสถูปก่อด้วยหินเรียงกันเป็นก้อน ๓ สถูป นอกจากนั้นยังมีหินแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ๑๘ องค์ และสถูป ๓๔ องค์ พุทธสถานแห่งนี้รุ่งเรืองมาจนถึงพ.ศ.๑๘๐๐ จึงล่มสลายไปด้วยสงครามและอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของศาสนาฮินดูและอิสลาม
9ท่องแดนพุทธภูมิ ตอนสำรวจพุทธสถานที่สังการาม (The Ancient Buddhist Site at Sankaram) EP.9พุทธสถานที่สังฆาราม (Ancient Buddhist Site at Sankaram, Vishakhapatam, Andhra Pradesh, India) อยู่ห่างจากหมู๋บ้านอนกะปัลลีไป ๒ กิโลเมตร อำเภอวิสาขาปัฏฏนัม รัฐอันธระประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากตัวอำเภอ ๒๖ กิโลเมตรไปทางทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนภูเขาสองลูกที่ไม่สูงมาก ภูเขาทั้งสองนี้มีชื่อเรียกต่างกันคือ ลูกแรกเรียกว่า โพชชันนะโกณฑะ (Bojjannakonda) บนยอดมีถ้ำที่เจาะเข้าไปในภูเขา ด้านในทำเป็นสถูปเพื่อสักการะบูชา มีซากวิหารหลายหลัง มีการเจาะยอดภูเขาทำเป็นสถูปหลายองค์ ลูกที่สองเรียกว่าลิงคลโกณฑะ (Lingalakonda) อยู่ทางทิศตะวันตกของลูกแรก ภูเขาลูกนี้มีการเจาะถ้ำเป็นสังฆาราม ๓ ถ้ำ มีการเจาะยอดภูเขาเป็นสถูป ๑๐๐ ลูกโดยประมาณ จนชาวบ้านเห็นเป็นศิวลิงค์จึงเรียกว่า ลิงคลโกณฑะ พุทธสถานแห่งนี้เริ่มสร้างตั้งแต่พ.ศ.๕๐๐ จนถึงพ.ศ.๑๖๐๐ ยุคแรกเป็นนิหายหินยาน ต่อมาเป็นมหายาน และยุคสุดท้ายเป็นนิกายวัชยาน จนสุดท้ายจึงได้รกร้างไปด้วยเหตุผลเพราะถูกบีบคั้นจากปัญหาการเมือง และศาสนา
10รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอน สำรวจพุทธสถานที่เตลหาร่า (An Buddhist Site at Telhara) EP.10พุทธสถานที่เตลหาร่า (The Buddhist Site at Telhara, 37 Kms. from Nalanda in Nalanda District, Bihar, India) มีนามเดิมว่า เตลาทกะวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเตลหาร่า อ.นาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากนาลันทา ๓๗ กิโลเมตรทางทิศตะวันตก สร้างในยุคหลังพุทธกาลก่อนถึงสมัยเมารยะ รุ่งเรืองในสมัยคุปตะ พ.ศ.๑๑๗๔ พระถังซัมจั๋งมาเรียนที่นาลันทา ได้มาศึกษาคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ที่นี่ จนถึงพ.ศ.๑๗๔๐ ขุนศึกโมหัมหมัด บิน พัขติยาร์ ขิลจี้นำกองทัพเตริกโจมตีนาลันทา ที่นี่จึงถูกทำลายด้วย พ.ศ.๒๕๕๒ ทางรัฐบาลอินเดียจึงได้เริ่มขุดค้นพุทธสถานแห่งนี้อีกครั้ง
11ท่องแดนพุทธภูมิตอน สำรวจพุทธสถานที่อุษกูร์ (An Ancient Buddhist Site at Ushkur) EP.11อุษกูร์ (Ushkur) หรืออูษการ์ (Ushkar) เป็นเมืองหลวงในสมัยพระเจ้าหุวิชกะ (Huvijaka) แห่งราชวงศ์กุษาณะ (Kushana) มีนามว่าหุษกรปุระ (Hushkarpur) ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเชลัม (Jhelum) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสถานีรถไฟเมืองพารามูล่า (Baramula) มา ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นอำเภอใหญ่ในรัฐชัมมูและกัศมีร์ ห่างจากศรีนคร ๕๕ กิโลเมตร (Srinagar) เมืองหลวงของรัฐในปัจจุบัน พ.ศ.๖๐๐ เศษ พระเจ้าหุวิชกะได้สร้างอารามขนาดใหญ่เป็นอารามหลวง เรียกว่า หุษกรสังฆาราม พระนาคารชุนเคยมาพำนักที่นี่ มาถึงยุคพระเจ้าลลิตาทิตย์ (Lalitaditya) กษัตริย์แห่งกัศมีร์ โปรดให้บูรณะเพิ่มเติมจนใหญ่โต พ.ศ.๑๑๗๓ พระถังซัมจั๋งเดินทางมาจากจีน ได้พำนักที่นี่หลายวันก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองศรีนคร แล้วเดินทางต่อไปยังอินเดียภาคกลาง เรียกว่าชเยนทราวิหาร ตามนามของกษัตริย์ชเยนทราวิหาร พ.ศ.๒๔๑๑ (ค.ศ.๑๘๖๘) นายจอห์น เบิก(John Burke) มาสำรวจได้ถ่ายภาพไว้ พ.ศ.๒๔๑๓ (ค.ศ.๑๘๗๐) เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ผู้อำนวยการกรมโบราณคดีของอินเดียในสมัยนั้น เข้ามาสำรวจระบุว่าเป็นเนินสถูปขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้เวนคืนที่แต่อย่างใด ต่อมาเจ้าของพื้นที่ชาวมุสลิมได้มาขุดเอาเนินโบราณนี้ไปใช้งาน ได้พบของมีค่าเป็นจำนวนมาก เมื่อทางการทราบจึงมาเวนคืนที่ดิน แล้วกันเป็นเขตโบราณสถาน
12ท่องแดนพุทธภูมิ ตอน สำรวจพุทธสถานที่ปริหาสโปร่า (An Ancient Buddhist Site at Parihaspora) EP.12พุทธสถานที่ปริหาสโปร่า (Parihaspora) เรียกได้หลายชื่อคือ ปริหาสโปร่า ปริหาสปุระ (Parihaspura) ปาราสโปร่า (Paraspora) ปาราสปูร์ (Paraspur) เป็นพุทธสถานที่ใหญ่ที่สุดในหุบเขากัศมีร์ ห่างจากศรีนคร (Srinagar) ๒๐ กิโลเมตรทางทิศตะวันตก และพารามูลา (Baramula) ๓๔ กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอพารามูล่า ในปีพ.ศ. ๑๒๔๓ (คศ.๗๐๐) พระเจ้าลลิตาทิตย์ มุกตาปิทะ (Lalitaditya Muktapida) กษัตริย์แห่งราชวงศ์การ์โกตะ (Karkota Dynasty) ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ปริหาสโปร่า จึงได้สร้างวัดนี้เป็นพระอารามหลวงในพระราชวัง ยามรุ่งเรืองมีพระสงฆ์ถึง ๕๐๐ รูป และล่มสลายไปในปีพ.ศ.๑๘๐๐ เศษ
13รายการท่องแดนพุทธภูมิ ตอน สำรวจพุทธสถานที่หมู่บ้านเจจาร์ (Ancient Buddhist Site at Chechar) EP.13หมู่บ้านเเจจาร์ หรือ เชชาร์ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดฝั่งแม่น้ำคงคา ห่างจากเมืองหาชูปูร์ ๑๙ กิโลเมตร ห่างจากปัฏนะ ๓๙ กิโลเมตร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย (An Ancient Buddhist Site at Chechar Village 37 Kms, from Patna, Bihar, India) ที่นี่มีซากโบราณสถานทางพุทธศาสนาหลายแห่ง พบพระพุทธรูปหลายองค์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในวัดฮินดู ส่วนซากโบราณสถานนั้น รักษาไว้ได้เป็นบางส่วน
14ท่องแดนพุทธภูมิ ตอนที่ ๑๔ ตอน เยี่ยมชมเสาอโศกที่รามปูรว่า (Ashokan Pillar at Rampurwa) EP.14โบราณสถานที่รามปูรว่า ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านรามปูรว่า อำเภอปัจฉิมจัมปารัน รัฐพิหาร (Ashokan Pillar at Rampurwa in Chachim Champaran, Bihar, India) ห่างจากพรมแดนอินเดียเนปาลเพียง ๒๐ กิโลเมตร เป็นพุทธสถานที่สำคัญเพราะพระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้สร้างเสาหินแกะด้วยหินทรายแดงปักไว้ ๒ ต้น เสาอโศกนี้ต้นที่หนึ่งมียอดเสาเป็นวัว และอีกต้นมียอดเสาเป็นสิงห์ตัวเดียว ความสูงของเสา ๑๑ เมตรเศษ ในสองเสามีจารึกเสาเดียว คือเสาที่มีสิงห์บนยอด
พ.ศ.๒๔๑๙ (ค.ศ.๑๘๗๖) นายอาชิบัล แคมเบล คาร์ไลย์ (Archibald Campbell Carlleyle) นักโบราณคดีซึ่งเป็นผู้ช่วยของนายพลอเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมได้ค้นพบจมอยู่ใต้ดิน จึงได้บูรณะเสาย้ายมาเรียงกันไว้ทั้งสองต้น ไม่ไกลจากเสาอโศกมีเนินโบราณขนาดใหญ่ ๒ เนิน นี้เป็นซากสถูปโบราณทางพุทธศาสนา เนินใหญ่มีชาวฮินดูไปสร้างวัดทับไว้บนยอด มีการขุดค้นในสมัยนายคาร์ไลย์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการขุดค้นแต่อย่างใด
15รายการท่องแดนพุทธภูมิ ๑๕ ตอนเสาอโศกที่เลาริยะ นันทันการ์ห (Ashokan Pillar, Lauriya Nandangarh) EP.15 เลาริยะ นันทันการ์ห (Lauriya Nandangarh) เป็นชุมชนขนาดเล็ก อุดมไปด้วยโบราณสถานทางพุทธศาสนาทั้งเสาหิน และสถูปโบราณรวมแล้ว ๑๕ สถูป ตั้งอยู่ที่อำเภอปัจฉิม จัมปารัน รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากเมืองกุสินารา ๖๒ กิโลเมตร และห่างจากเมืองปัฏนะ เมืองหลวงของรัฐ ๒๒๕ กิโลเมตร ที่นี่มีนักวิชาการทางพุทธศาสนาบางท่านกล่าวว่าเป็น เมืองอัลลกัปปะที่ได้ส่งทูตมาของส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ แล้วนำมาสร้างสถูปประดิษฐานไว้ บ้างว่าเป็นเมืองปิปผลิวันที่ได้รับพระอังคารมาประดิษฐาน แต่ยังไม่มีการยืนยันทางด้านโบราณคดี ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชได้มาสร้างสถูปและเสาหินที่นี่ไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา เสาหินที่นี่สูง ๑๐ เมตรหรือ ๓๒ ฟุต บนยอดมีสิงห์หัวเดียวหันหน้าไปทางทิศเหนือ มีจารึกที่เสาตั้งแต่ต้นเสาจนถึงปลายด้วยอักษรพราหมี ภาษาปรากฤต มี ๔๘ แถว


Copyright © มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
30 หมู่ที่ 1 บ้านโคกสี ถ.ขอนแก่น-น้ำพอง ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทร.043-283546-7